top of page
FAQS
คำถามคำตอบที่พบบ่อยสำหรับบุคคลทั่วไป
เกี่ยวกับการทำงาน
จบไปแล้ว ทำงานที่ไหนได้บ้าง
งานทางด้านธรณีวิทยาหรือเทคโนโลยีมีความหลากหลาย และสามารถแบ่งออกตามประเภทของหน่วยงานได้ดังนี้
หน่วยงานราชการ:
-
กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม
-
กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
-
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม
-
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ:
หน่วยงานเอกชน:
-
สำรวจและผลิตน้ำมัน:
-
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
-
Mitsui Oil Exploration (MOECO)
-
บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด
-
- ประเภทให้บริการบริษัทน้ำมัน (Oil field services):
-
ด้านเหมืองแร่:
-
ประเภทที่ปรึกษาทางวิศวกรรม:
-
บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
-
บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
-
บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด
-
บริษัท วิศวกรรมธรณีและฐานราก จำกัด (Geotechnical & Foundation Engineering, GFE)
-
บริษัท จีเอ็มที คอร์เปอเรชั่น จำกัด
-
บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด
-
บริษัท กรุงเทพ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด
-
บริษัท โกบอล โปรสเปคเตอร์ แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด
-
-
ประเภทประกอบการด้านงานวิศวกรรม:
-
บริษัท ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง จำกัด
-
บริษัท สยามโทเนะ จำกัด
-
บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด (ประเทศลาว)
-
บริษัท เอสเอ็นที คอนซัลแตนท์ จำกัด
-
บริษัท วีอาร์ไพล์ จำกัด
-
บริษัท ซีเอ็มซี ไอทีดี ซองดะ จอยท์เวนเจอร์
-
บริษัท วิศวชาญ 2002 จำกัด
-
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ชญากานต์ เอ็นจิเนียริ่ง
-
ฯลฯ
-
หน่วยงานด้านการศึกษาและวิจัย:
-
ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
-
ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-
ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-
สาขาวิชาธรณีศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
-
ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
-
สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
-
โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ทั่วประเทศ
-
ฯลฯ
เงินเดือนเริ่มต้นของบัณฑิตจบใหม่ดีมั้ย
สาขาธรณีและวิศวกรรมธรณี ถูกจัดให้เป็นหนึ่งใน 10 สาขาวิชาเอกที่มีรายได้เฉลี่ยสูงสุดโดยผู้จัดการ online (อ่านรายละเอียด) โดยมีรายได้เฉลี่ย 3,032,124 บาทต่อปี
เงินเดือนสำหรับผู้มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี จากภาควิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความแตกต่างขึ้นกับหน่วยงานที่ทำ ซึ่งประมาณการคร่าวๆ ได้ดังนี้
-
บริษัทน้ำมัน ให้เงินเดือนเริ่มต้นที่ประมาณ 40,000 บาท
-
บริษัทประเภท Oil Field Service ให้เงินเดือน เริ่มต้นที่ประมาณ 22,000 บาท บวกกับเบี้ยเลี้ยงสนาม วันละ 700-900 บาท
-
บริษัทเอกชน อาจให้เงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 15,000 บาท (บวกกับเบี้ยเลี้ยงสนามวันละ 500 บาท ในกรณีต้องทำงานภาคสนาม)
-
หน่วยงานราชการ ให้เงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 13,000 บาท
น้ำมันในประเทศเหลือไม่มาก จะมีงานบริษัทน้ำมันทำมั้ย
ในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยยังคงมีการสำรวจหาแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ยังสำหรวจหาแหล่งใหม่ไม่พบนั้น แหล่งเก่าก็มีน้ำมันลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ดังนั้นโอกาสที่จะได้งานในบริษัทน้ำมันในประเทศไทยจึงมีน้อยลงเมื่อเทียบกับในอดีต อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เข้าไปทำงานกับบริษัทปตท.สผ.หลายคน มีโอกาสไปทำงานในต่างประเทศ เพราะปตท.สผ.มีสัมปทานสำรวจและผลิตน้ำมันในต่างประเทศหลายแห่ง
ลักษณะงานของนักธรณีหรือนักธรณีวิศวกรรมเป็นอย่างไรบ้าง
-
งานด้านสำรวจ ต้องทำงานอยู่ในสนามเป็นช่วงๆ ซึ่งอาจมีระยะเวลาครั้งละ 15-20 วัน (ขึ้นอยู่กับหน่วยงาน) จากนั้นกลับมาเขียนรายงานที่สำนักงานก่อนที่จะออกไปทำงานในสนามต่อ หรือบางหน่วยงานจะให้ทำงานอยู่ในสนามตลอด
-
งานประเภท Oil Field Service ต้องทำงานบนแท่นขุดเจาะน้ำมันกลางทะเล โดยช่วงที่อยู่บนแท่นขุดเจาะน้ำมันเราจะไม่สามารถกลับบ้านหรือไปไหนได้เลย บริษัทมักจะจัดกะทำงานเป็นระยะเวลา 20-30 วัน และให้กลับไปพักที่บ้านเป็นเวลา 20-30 วัน จากนั้นจึงกลับไปทำงาน สลับกันอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ
-
งานบริษัทน้ำมัน เป็นงานที่ทำในสำนักงาน ส่วนใหญ่จะต้องอยู่กับคอมพิวเตอร์แล้วใช้โปรแกรมสำหรับทำการวิเคราะห์ข้อมูล และต้องทำงานร่วมกับทีมงานซึ่งประกอบด้วยบุคลากรจากหลายฝ่าย
-
งานที่ปรึกษา เป็นงานที่หลากหลาย ไม่มีความตายตัว ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงการ บางโครงการ ที่ปรึกษาจะต้องทำงานในสนามด้วย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วงานที่ต้องทำมักเป็นงานที่ทำในสำนักงานซึ่งต้องอาศัยการวิเคราะห์ประมวลข้อมูล และหลายครั้งต้องใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน
-
งานเหมือง มีทั้งงานที่ต้องอยู่หน้าเหมือง และงานที่อยู่เฉพาะในส่วนของสำนักงานหรือห้องปฏิบัติการ
-
งานสอนระดับมัธยมศึกษา เป็นงานสอนวิชาด้านวิทยาศาสตร์กายภาพในโรงเรียน
เป็นผู้หญิงจะหางานทำยากมั้ย
ไม่ยากเลยถ้าเรียนได้ดี อย่างไรก็ตาม จะเรียนได้ดีแค่ไหนก็มีงานบางประเภทที่ผู้หญิงไม่สามารถทำได้เนื่องจากมีความไม่ปลอดภัย เช่น งานที่ต้องค้างแรมในสนามซึ่งเต็มไปด้วยคนงานและช่างเจาะผู้ชาย หรืองานบริการด้านการขุดเจาะน้ำมัน (Oil field service) ซึ่งต้องไปอยู่บนแท่นขุดเจาะน้ำมันกลางทะเลที่มีแต่คนงานผู้ชาย เป็นต้น
คนที่เหมาะจะมาเรียนและทำงานในสายวิชาชีพนี้ ควรมีคุณลักษณะอย่างไร
อยู่ง่าย กินง่าย ไม่เรื่องมาก ยืดหยุ่น ปรับตัวง่าย เข้ากับคนได้ง่าย ชอบทำงานร่วมกับคนอื่น ช่างสังเกต ชอบคิดวิเคราะห์ มีสุขภาพดี ร่างกายฟิตสำหรับการใช้แรงงาน ไม่กลัวความสูง ตาไม่บอดสี และสำคัญที่สุดคือ ใจรัก
เกี่ยวกับการเรียน
เกี่ยวกับการเรียน
ค่าใช้จ่ายในการเรียนหลักสูตรป.ตรีทั้งหมดเท่าไหร่
ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น (ไม่รวมค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายเพื่อทำกิจกรรมของนักศึกษา) ประมาณ 120,000 บาท (อ้างอิงจาก ประกาศค่าธรรมเนียมการศึกษา ป.ตรี (ฉบับที่ 963/2555) โดยแบ่งเป็น
-
ค่าธรรมเนียมภาคการศึกษาต้นและภาคการศึกษาปลาย ของทั้ง 4 ปี (8 ภาคการศึกษา) จำนวน 96,000 บาท
-
ค่าธรรมเนียมภาคการศึกษาฤดูร้อน ของปี 2 และ ปี 3 (2 ภาคการศึกษา) จำนวน 12,000 บาท
-
ค่าที่พักระหว่างการทัศนศึกษา (excursion) ในปีที่ 2 จำนวน 3,000 บาท
-
ค่าอุปกรณ์เดินสนาม เครื่องเขียน ตำรา และค่าถ่ายเอกสาร ตลอดระยะเวลาเรียน 4 ปี จำนวน 9,000 บาท โดยมีอุปกรณ์ที่สำคัญได้แก่ รองเท้าเดินป่า และกระเป๋าเป้สะพายหลังคุณภาพดี
ที่ภาควิชามีทุนให้นักศึกษามั้ย
สำหรับระดับป.ตรี ภาควิชาไม่มีทุนให้นักศึกษา แต่นักศึกษาของภาควิชาจะได้รับทุนเรียนดีจากหน่วยงานซึ่งมาให้ทุนการศึกษาทุกปี เช่นบริษัท MOECO ซึ่งจะคัดเลือกนักศึกษาระดับชั้นละ 2 คน เพื่อให้ทุนการศึกษาจำนวนปีละ 30,000 บาท ตั้งแต่เรียนปี 2 จนกระทั่งเรียนจบ โดยไม่มีข้อผูกมัด
สำหรับระดับป.โท-เอก ภาควิชามีค่าจ้างสำหรับผู้ช่วยสอน ส่วนอาจารย์ที่ปรึกษาอาจมีทุนสำหรับผู้ช่วยวิจัยซึ่งนักศึกษาต้องหารือกับที่ปรึกษาของตัวเอง
ธรณีที่มข.เรียนต่างกับที่จุฬาฯหรือเชียงใหม่อย่างไร
ที่จุฬาฯและเชียงใหม่นั้นจะเรียนธรณีวิทยาในรูปแบบของวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure science) แต่ที่มข.เราจะเน้นการประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางด้านธรณีเพื่อการทำงานในทางวิศวกรรมหรือสิ่งแวดล้อม ดังนั้นที่มข.เราจะเรียนวิชาที่ประยุกต์ทางด้านวิศวกรรม (เช่น Engineering geology หรือ Hydrogeology และ Geophysics) ในปริมาณที่เข้มข้นกว่า
การออกสนามระหว่างเรียนมีลักษณะเป็นอย่างไร
ในภาคฤดูร้อนของปีที่ 2 และภาคฤดูร้อนของปีที่ 3 นักศึกษาทุกคนจะต้องออกสนาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชาบังคับในหลักสูตร ลักษณะของการออกสนามของเราไม่เหมือนกับการไปเข้าค่ายพักแรมและเดินในอุทยานแห่งชาติซึ่งมีความสวยงาม ปลอดภัย และสะดวกสบาย
การออกสนามของเรา นักศึกษาจะต้องไปค้างแรมตามโรงเรียนหรือสถานที่ราชการ เป็นระยะเวลา 25-30 วัน (บางครั้งทั้งหญิงและชายต้องนอนรวมกัน) ระหว่างที่อยู่ในสนาม นักศึกษาจะไม่สามารถเดินทางกลับบ้านได้ เราจะต้องซักผ้าเองและทำกับข้าวกินเองทั้งสามมื้อ (โดยมื้อกลางวันเป็นมื้อที่นำไปรับประทานในสนาม) ทุกวันเราจะต้องตื่นตีห้า ทำกับข้าว ทานมื้อเช้า เตรียมมื้อกลางวัน จากนั้นออกเดินทางไปยังจุดศึกษา (บางครั้งก็มีรถของภาคไปส่ง บางครั้งก็ต้องเดินไปเอง) งานในสนามแต่ละวัน จะประกอบด้วยการเดินในป่า ขึ้นและลงเขา (บางครั้งหลายลูก) จนกระทั่งประมาณสี่ถึงห้าโมงเย็นจึงได้กลับมาที่แคมป์ ระยะทางที่ต้องเดินเท้าในแต่ละวันโดยเฉลี่ยประมาณ 15-20 กิโลเมตร (ขึ้นอยู่กับว่ามีภูเขาต้องขึ้นหลายลูกหรือไม่) ทางเดินในป่านั้นส่วนใหญ่จะเดินไม่ลำบากนักเนื่องจากเราจะใช้ทางที่ชาวบ้านเดินเป็นประจำเพื่อเก็บของป่า แต่บางครั้งเราก็ต้องใช้มีดถางทางเข้าไปเอง ระหว่างเดิน เราจะต้องมีความสังเกตรอบคอบ คอยเก็บข้อมูลดินและหิน ต้องมีการจดบันทึกข้อมูล วาดภาพ และถ่ายภาพตลอดเส้นทางศึกษา รวมทั้งต้องเก็บตัวอย่างหินกลับมาศึกษาในขั้นรายละเอียด ซึ่งโดยเฉลี่ย เราจะต้องเก็บหินกลับมาคนละประมาณ 20 กิโลกรัมในแต่ละวัน
ระหว่างเดินในสนาม แดดจะร้อนมาก ยุง (ซึ่งไม่กลัวยากันยุง) จะมหาศาล บางครั้งเจอพายุฝน แต่เราก็ต้องทำงานได้ อันตรายที่สามารถจะพบเจอได้หากไม่มีการระวังและเตรียมการป้องกันแก้ไข เช่น ไฟป่า คนลักลอบตัดไม้ งูและสัตว์หรือแมลงมีพิษ สุนัขเฝ้าสวน ซึ่งยังไม่รวมถึงอันตรายจากการเดินและพลัดตกหรือลื่นล้ม นอกจากนี้ เมื่อกลับถึงแคมป์ งานของเราจะยังไม่เสร็จเสียทีเดียว เรายังต้องสรุปข้อมูลที่เก็บได้ในวันนั้นๆ และวางแผนการเดินในวันต่อไป
ทั้งปีสองและปีสามจะต้องออกสนามในลักษณะเดียวกันดังที่อธิบายในข้างต้น สิ่งที่ต่างกันมีเพียงการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิชาการเท่านั้น
ดังนั้น นักศึกษาจะต้องมีความอดทน ไม่กลัวแดด ไม่กลัวฝน ไม่กลัวความสูง ไม่กลัวผี (บางครั้งต้องเดินในป่าช้า) ไม่กลัวอันตราย (และรู้จักระวังป้องกันอันตรายทุกรูปแบบ) มีสุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัวที่อาจเป็นอันตรายระหว่างการออกสนาม และช่วยเหลือตัวเองในการกินและการใช้ชีวิตได้ดี
มีคำถามที่ไม่มีคำตอบในนี้
ส่งข้อความมาถามเราเลยค่ะ จะเป็นการช่วยไขข้อข้องใจของตัวท่านเองและน้องๆในอนาคตด้วย และไม่จำเป็นต้องให้ชื่อที่แท้จริงของตัวเองก็ได้
bottom of page