top of page
FAQS
คำถามคำตอบที่พบบ่อยสำหรับน้องๆนักศึกษาปัจจุบัน
เกี่ยวกับวิชาเรียน
วิชา Independent study คืออะไร
วิชา Independent study คือวิชาที่นักศึกษาสามารถเลือกเพื่อทำการศึกษาเรื่องใดก็ได้ที่สนใจ โดยสามารถเก็บหน่วยกิต 3 หน่วยสำหรับหมวดวิชาเลือกเสรี (ซึ่งต้องเรียนทั้งหมด 6 หน่วยกิต) ทั้งนี้ ก่อนจะลงทะเบียนวิชานี้ น้องจะต้องเลือกอาจารย์ที่ปรึกษา และทำการตกลงกับอาจารย์ว่าจะทำการศึกษาเรื่องอะไร ดำเนินการทำงานอย่างไร และประเมินผลอย่างไร ประเด็นเหล่านี้สำคัญมาก เพราะอาจารย์ที่ปรึกษาจะเป็นผู้ให้เกรดของน้องแต่เพียงผู้เดียว
งานที่ทำในวิชานี้ ไม่สามารถนำมาคิดซ้ำซ้อนเป็นผลงานของ Special project ได้ อย่างไรก็ตามน้องสามารถลง Independent study เพื่อทำงานที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่องกับ Special Project เพื่อทำให้งาน Special Project มีความละเอียดลึกซึ้งมากขึ้น ทั้งนี้ น้องจะต้องไม่ลืมว่าวิชา Independent study เป็นวิชา 3 หน่วยกิตซึ่งหมายความว่าน้องจะต้องทำงานอย่างน้อย 9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
หัวข้อที่น้องเลือกทำการศึกษาเป็นเรื่องอะไรก็ได้ จะเรียนมาแล้วหรือจะยังไม่เคยเรียนแต่มีความสนใจก็ได้ ลักษณะการทำงานก็มีหลากหลาย อาจทำงานโดยการอ่านบทความวิชาการหรืออ่านตำราเพียงอย่างเดียว หรือ ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ หรือ ออกสนามเก็บข้อมูล หรือนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สุดท้ายแล้ว ผลของการศึกษาก็สามารถนำเสนอได้ในหลายรูปแบบ เช่น เป็นรายงาน เป็นแผนที่ หรือแม้กระทั่งเป็นผลิตภัณฑ์
ตัวอย่างงาน Independent study ที่เคยมีในอดีต ได้แก่
ทำไมภาควิชาไม่จัดให้ลง Field Work ในภาคการศึกษาปกติ จะได้ไม่ต้องเสียตังค์ลงทะเบียนภาคการศึกษาพิเศษ
เป็นความจำเป็นที่สืบเนื่องเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินงบประมาณสำหรับการออกสนาม (เช่น ค่าน้ำมัน เบี้ยเลี้ยงพนักงานขับรถ ค่าที่พัก ฯลฯ) ซึ่งเลี่ยงไม่ได้จริงๆค่ะ
Special Project สามารถทำเป็นคู่ได้จริงหรือ
ได้ค่ะ ในอดีตเคยมีการทำงานเป็นคู่มาแล้ว สาเหตุที่ไม่ค่อยมีใครทำเป็นคู่ก็เพราะไม่เป็นที่นิยมทั้งนี้ เนื้องานที่ทำจะต้องมีปริมาณที่เหมาะสมสำหรับนักศึกษาสองคน และได้รับการยินยอมจากอาจารย์ที่ปรึกษา
ได้ค่ะ ในอดีตเคยมีการทำงานเป็นคู่มาแล้ว ทั้งนี้ เนื้องานที่ทำจะต้องมีปริมาณที่เหมาะสมสำหรับนักศึกษาสองคน และได้รับการยินยอมจากอาจารย์ที่ปรึกษา
ถ้าน้องคนไหนสนใจลงวิชาเลือกที่อยู่ในหลักสูตรแต่ไม่ได้เปิดไว้ให้ลงทะเบียน ให้มาติดต่อเลขานุการหลักสูตร (ปัจจุบันคือ อ.นุศ สำหรับหลักสูตรป.ตรี และ อ.ลอย สำหรับหลักสูตรป.โอ-เอก) เพื่อแจ้งความประสงค์ พร้อมทั้งเสนอรายชื่อผู้ที่สนใจจะเรียนทั้งหมด (ถ้ามีจำนวนมากจะช่วยให้กระบวนการเปิดวิชาเรียนสำเร็จง่ายขึ้น) จากนั้นอาจารย์ประจำหลักสูตรจะประชุมเพื่อหารือว่าจะมีอาจารย์ท่านใดเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชาดังกล่าว และมีอาจารย์ท่านใดร่วมสอนบ้าง
การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย
เกี่ยวกับการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย
เกิดเหตุฉุกเฉินด้านการเงิน จะทำยังไงดี
ติดต่อฝ่ายกิจการนักศึกษาของคณะเลยค่ะ ที่นั่นมีเงินให้ยืมเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ถ้าเป็นกรณีที่ทราบว่าจะเกิดการขัดสนทางด้านการเงินในระยะยาว แนะนำให้สมัครขอทุนของคณะซึ่งจะจัดสรรให้เทอมละ 1 ครั้งเท่านั้น ดังนั้นต้องติดตามข่าวสารประกาศการรับสมัครขอทุนเพื่อไม่ให้พลาดโอกาส จากนั้นมารับการสัมภาษณ์จากคณะกรรมการของคณะเพื่อรับการคัดเลือก ทั้งนี้ ถ้าได้รับทุนของคณะในเทอมใดก็ตาม น้องจะต้องเว้นจากการขอทุนหนึ่งเทอม (เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความขัดสนได้รับทุนบ้าง) จากนั้นเทอมถัดไปจึงจะสมัครขอทุนได้อีกครั้ง
มีคำถามที่ไม่มีคำตอบในนี้
ส่งข้อความมาถามเราเลยค่ะ จะเป็นการช่วยไขข้อข้องใจของตัวท่านเองและน้องๆในอนาคตด้วย และไม่จำเป็นต้ องให้ชื่อที่แท้จริงของตัวเองก็ได้
bottom of page