top of page

  วิชา การฝึกภาคสนาม 1 (Field Work I)

        สำหรับรายวิชา การฝึกภาคสนาม 1 จะต้องผ่านการเรียนวิชา ธรณีวิทยากายภาพ โดยนักศึกษาจะต้องไม่ได้เกรด F ถึงจะลงวิชานี้ได้ (หากวิชาธรณีวิทยากายภาพ นักศึกษาได้เกรดต่ำกว่า C นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนซ้ำจนกว่าจะผ่าน นักศึกษายังสามารถลงวิชานี้ได้อยู่ ยกเว้นในกรณีเกรด F เท่านั้นที่ลงไม่ได้)  ซึ่งวิชานี้

เป็นการสำรวจทำแผนที่ธรณีวิทยา โดยวิธีสำรวจเบื้องต้น การเก็บตัวอย่าง การบันทึกข้อมูล การใช้เครื่องมือสนาม และเทคนิคการตรวจวัด การตีความแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการจัดทำรายงานผลการสำรวจทางธรณีวิทยา 

  วิชา การฝึกภาคสนาม 2 (Field Work II)

        รายวิชา การฝึกภาคสนาม 2 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป  จะต้องผ่านการเรียนวิชา ธรณีวิทยากายภาพ ศิลาวิทยา การลำดับชั้นหินและบรรพชีวินวิทยา การฝึกภาคสนาม 1 และธรณีวิทยาโครงสร้าง โดยนักศึกษาจะต้องไม่ได้เกรด F วิชาเหล่านี้แม้แต่ตัวเดียว จึงจะลงวิชานี้ได้ ซึ่งการฝึกภาคสนาม 2 นี้ลักษณะงานจะคล้ายคลึงกับการฝึกภาคสนาม 1 แต่ในการฝึกภาคสนาม 2 นี้จะลงรายละเอียดในวิชาการมากกว่า ด้วยความรู้ที่นักศึกษาได้เรียนและสั่งสมมาจะถูกนำมาใช้แบบบูรณาการเข้าด้วยกัน โจทย์ปัญหาและกระบวนการคิดต่างๆ จะเป็นการตีความและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นขั้นสูงขึ้น อีกทั้งนักศึกษาจะได้ฝึกการวางแผนการทำงานด้วยตัวเอง โดยนักศึกษาถูกแบ่งกลุ่มเพื่อรับผิดชอบพื้นที่แต่ละพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลมาร่วมกันอภิปรายในภาพรวม 

  วิชา ธรณีวิทยาประเทศไทย (Geology of Thailand)

         รายวิชา ธรณีวิทยาประเทศไทย สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิชานี้จะเรียนเกี่ยวกับธรณีกาล มาตร-ธรณีกาล แท่งลำดับชั้นหินประเทศไทย ภูมิสัณฐานกายภาพและธรณีวิทยาทั่วไปของประเทศไทย การลำดับชั้นหินของประเทศไทยที่ประกอบไปด้วย หินยุคพรีแคมเบรียน ชั้นหินมหายุคโบราณช่วงล่าง ชั้นหินมหายุคโบราณช่วงบน ชั้นหินมหายุคกลาง ชั้นหินมหายุคซีโนซอยด์ หินอัคนีและหินแปร ธรณีวิทยาแปรสัณฐานและประวัติที่ตั้งทางภูมิศาสตร์โบราณของประเทศไทย โดยจะมีการออกภาคสนามไปศึกษาชุดหินต่างๆ ในประเทศไทย 

14 พฤศจิกายน 2562

Suweera Khayanyiam

bottom of page